เมืองใหญ่ที่ยั่งยืน

3 มกราคม 544

ด้วยการออกแบบ และวัสดุที่ดี การสร้างหรือการทำให้กลายเป็นเมืองแบบรวดเร็ว สามารถสร้างความยั่งยืนไปพร้อมกันได้

ในทุกๆสัปดาห์ จะมีประชากรประมาณ 1.5 ล้านคน ย้ายเข้ามาอยู่อาศัยภายในเมือง ส่งผลให้เกิดความต้องการต่างๆทางด้านทรัพยากร และ สภาพแวดล้อม เพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตามการเลือกนำเอาเทคโนโลยีที่ถูกต้องเหมาะสมมาใช้สามารถทำให้การสร้างเมืองให้เกิดความยั่งยืนไปพร้อมกัน

อนาคตของเมืองใหญ่

การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรทั่วโลกส่งผลให้ในอนาคตเมืองเหล่านั้นจะกลายเป็นเมืองใหญ่ โดยประมาณ ปีค.. 2030 จะเกิดเมืองใหญ่เพิ่มขึ้นกว่า 41 แห่งที่มีจำนวนประชากรประมา 10 ล้านคน1 ปัจจุบันมีเพียงแค่ 18 แห่ง2 ประชากรในเมืองเหล่านี้ใช้ทรัพยากรของโลกสูงถึง 81 เปอร์เซ็นต์3 และในอีกยี่สิบปีข้างหน้า ในปีค.. 2050 ความต้องการอาหารของประชากรในเมืองเหล่านี้จะเพิ่มขึ้นอีก 50 เปอร์เซ็นต์ ความต้องการน้ำก็จะเพิ่มขึ้นตามอีก 17 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมากว่าความต้องการในปัจจุบัน4 พวกเขาต้องการความเป็นอยู่ที่สะดวกสบาย ในขณะที่ปัจจุบันยังมีประชากรอีก 1.2 พันล้านคนที่ยังไม่มีไฟฟ้าไว้สำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน: และความต้องการของชาวเมืองในอนาคตยังคงเป็น ที่อยู่อาศัย พลังงานที่ทันสมัย ควบคู่ไปกับ สภาพแวดล้อม ภูมิอากาศที่น่ารื่นรมย์

การทำให้กลายเป็นเมืองใหญ่ได้นั้นย่อมต้องมีค่าใช้จ่ายหลายประการ จากการประมาณการณ์ในปี ค.. 2050 ชี้ให้เห็นว่ามีการเจริญเติบโตของตัวเลขประชากร และ การขยายตัวของเมือง จึงส่งผลให้เกิดการใช้พลังงานที่เพิ่มมากขึ้นถึงสองถึงสามเท่าสำหรับการใช้พลังงานภายในอาคาร ซึ่งส่งผลกระทบที่ตามมานั่นคือการปล่อยมลพิษต่างๆ

เมืองใหญ่
0

เมืองใหญ่ที่มีจำนวนประชากรมากกว่า 10 ล้านคน ภายในปีค.ศ.2030

ประชากร
0

มีประชากรย้ายเข้ามาในเมืองใหญ่ทุกๆสัปดาห์

อาหาร และ น้ำ
0

ของความต้องการของที่เพิ่มขึ้น และ 17 เปอร์เซ็นต์ของความต้องการน้ำที่เพิ่มขึ้น ของประชากรในปี ค.ศ. 2050

การแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม

มีโอกาสมากมายสำหรับการจัดการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมต่างๆของเมือง อาพาร์ทเมนต์ และ สำนักงานที่ได้รับการปรับปรุงด้วยการใช้ฉนวนกันความร้อนที่มีประสิทธิภาพจึงส่งผลให้การใช้พลังงานลดลงสำหรับการทำความร้อน และ ความเย็น ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงานได้มากกว่าเพียงแค่โครงสร้างพื้นฐานอาคารอย่างเดียว และเป็นไปได้มากว่าโครงสร้างพื้นฐานเดิมบางส่วนอาจเริ่มเกิดการหดตัวลงจากสภาพภูมิอากาศภายนอก สำหรับเมืองที่ต้องการใช้พื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ แน่นอนว่าต้องเกิดการแออัดหรือกระจุกตัวติดกันของตัวอาคาร ซึ่งอาจเกิดความเสี่ยงต่อการลามของไฟ เมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ การใช้วัสดุก่อสร้างอาคารที่ไม่ติดไฟ ไม่ลามไฟ เช่น ฉนวนกันความร้อนหินภูเขาไฟ ที่มีความหนาแน่นสูง จึงไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดไปไฟไหม้

การตอบสนองความต้องการอาหาร และ น้ำในเมืองที่มีการเจริญเติบโตสูง จำเป็นต้องใช้พื้นที่ และ ทรัพยากรอย่างมาก และ ด้วยระบบการเกษตรแบบยั่งยืน โดยมีเป้าหมายที่ต้องการใช้ทรัพยากรให้น้อยลง แต่ยังคงได้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพ ซึ่งสามารถนำเอาผลผลิตทางการเกษตรเหล่านี้ไปเลี้ยงประชากรในเมืองที่มีพื้นที่ขนาดเล็กได้

กลุ่มร็อควูลถูกจัดอยู่ในลำดับต้นของการพัฒนาวัสดุทางเลือกใหม่ที่สามารถช่วยพัฒนาเมืองสำหรับอนาคตอย่างยั่งยืน

https://esa.un.org/unpd/wup/Publications/Files/WUP2014-Highlights.pdf
2 https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_largest_cities
3 https://www.mckinsey.com/global-themes/urbanization/urban-world-the-global-consumers-to-watch
4 https://pubdocs.worldbank.org/en/862271433768092396/Holger-Kray-RO-SustainableAg-hkray-ENG.pdf 
5 https://www.gbpn.org/sites/default/files/IPCC_AR5__Implications_for_Buildings__Infographic__WEB_EN%20%281%29.pdf

เข้าสู่ผลิตภัณฑ์ของเรา

Error rendering content

เพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำให้กลายเป็นเมือง